Hoofdstuk 1
ประวัติศาสตร์-ภาษาดัชต์

ภาษาใดๆก็ตาม ย่อมเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ของชาตินั้นๆ ในประเทศเล็กๆแห่งหนึ่งในยุโรป ตะวันตก ที่มีพื้นที่เกือบครึ่งต่ำกว่าน้ำทะเลที่ชื่อเนเธอร์แลนด์นี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เกิดขึ้นกับประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคเช่นเดียวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ กว่าจะกลายมาเป็น เนเธอร์แลนด์อย่างที่เราเห็นบนแผนที่โลกในปัจจุบัน

ภาษาดัชต์เก่า มีหลักฐานทางโบราณคดี ค้นพบตั้งแต่ปีค.ศ. 1170 เป็นภาษาตระกูล Germanic เช่นเดียวกับเยอรมัน และอังกฤษ ที่เราใช้กันอยู่แพร่หลายนี่เอง การเรียนภาษาดัชต์ จึงไม่ยากเย็นแสนเข็ญอะไรเลย สำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง หลักฐานทางงานเขียน หนึ่งที่เป็นที่รู้จัก ถูกค้นพบราวๆ ปี 1100 ในเมือง Kent ประเทศอังกฤษ ในสำนักสงฆ์ Rochester Abbey ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระที่มาจากเขต West Vlaanderen แคว้นในพื้นที่ประเทศ เบลเยี่ยมในปัจจุบัน
hebban olla vogala nestas hagunnan
hinase hi(c) (e)nda thu
uu(at) unbida(n) (uu)e nu
มีคำที่ดูแล้วคล้ายๆ ภาษาดัชต์ยุคใหม่อยู่บ้าง คนที่เรียนมาแล้วอาจพอมองเห็นบ้างเช่น hebban – hebben เฮ็บเบิ้น มี, olla – alle อัลเล่อะ ทุกๆ, vogala- vogels โฟ้เคิ่ล นก, nestas – nesten เน้สเติ่น รังนก(พหูพจน์) , nu - nu นือ ตอนนี้
แปลออกมาได้ว่า นกทั้งหลายต่างก็ยุ่งกับการสร้างรัง แล้วเราสองคนล่ะ ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่

ภาษาดัชต์ในยุคกลาง ปีคริสตศักราช 1150 - 1500 เมื่อคุณนึกตามไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ ช่วงนี้ฮอลแลนด์อยู่ในระหว่างการสร้างแคว้นน้อยใหญ่ ภาษาในช่วงนี้ ได้รับอิทธิพลจากทางตอนใต้ คือละตินจากทางฝรั่งเศสเข้ามาด้วย ทำให้มีศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
พจนานุกรมภาษาดัชต์ที่ใช้เป็นหลักเล่มแรกได้ถูกรวมรวมขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 14-17 เป็นช่วง เวลาที่เนเธอร์แลนด์กำลังเป็นรูปเป็นร่าง กำลังรวบรวมประเทศประเทศเข้าด้วยกัน และเริ่มออกล่า อาณานิคม การกำหนดกฏหมายและข้อบังคับ มีผลให้ภาษามีกฏเกณท์มากขึ้น และภาษากลาง ก็ได้ถูกกำหนดขึ้น แต่ถึงกระนั้นสำเนียงต่างๆก็แต่ละถิ่นก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ในช่วงศตวรรษที่ 16-20 หรือช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้ หลังจากประเทศก่อร่างสร้างตัวเป็นหลัก เป็นฐาน ดัชต์ยังเริ่มขยายอำนาจออกไปด้วยการเดินเรือค้าขายไปยังประเทศอันไกลโพ้นทะเล ภาษาดัชต์ยังได้เผื่อแผ่พ้นจากประเทศใกล้ๆ อย่างเบลเยี่ยมตอนเหนือ ซึ่งมีประวัติศาตร์เกี่ยวพัน กันมายาวนานแต่แยกตัวออกไป ภาษาดัชต์ในเบลเยี่ยมนั้นถูกเรียกว่า เฟลมิช Flemish หรือ Vlaams ตามที่คนดัชต์เรียกกัน ข้ามทะเลแอตแลนติกไป ในประเทศหมู่เกาะแถบแคริเบียน ก็มีเมืองขึ้น ของเนเธอร์แลนด์ เช่น Aruba, Netherlands Antilles ที่พูดภาษาดัชต์ ถึงแม้จะไม่ได้ ใช้กันแพร่หลายเท่า ภาษา Papiamento พื้นเมืองของชาวเกาะเหล่านั้น

ดัชต์ยังเป็นภาษาพูดทั่วไปในประเทศ Suriname, Indonesia, South Africa, Namibia เขตอาณา นิคมเก่าของฮอลแลนด์ในอเมริกา New Jersey ที่ย้ายไปจาก New Amsterdam หรือ New York ในปัจจุบัน แต่ภาษาดัชต์เหล่านี้เป็นภาษาที่ได้รับไปในช่วงของการล่าอาณานิคม และไม่ได้มีการ ปรับปรุงพัฒนาแต่อย่างใด ในรูปการเขียนบางครั้งยังเป็นภาษาเก่าแก่อยู่ ผู้ที่เรียนดัชต์มาตรฐาน อาจจะพอฟัง หรือ อ่านออกได้

ในทุกวันนี้ภาษาดัชต์เป็นภาษาทางการของประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สุรินัม อารุบ้า และ เนเธอร์แลนด์อันทิลส์ ส่วนภาษา Afrikaans เป็นภาษาประจำชาติของ South Africa ซึ่งก็ได้รับ อิทธิพลจากภาษาดัชต์นั่นเอง มีการเขียนและการออกเสียงมีกฏเกณท์ที่ยังคล้ายคลึงกัน

อีกภาษาหนึ่งที่มักเข้าใจกันผิดก็คือภาษา Fries ที่ใช้พูดกันในเขต Friesland นั้น ไม่ใช่สำเนียง ของภาษาดัชต์แต่อย่างใด เป็นหนึ่งใน 15 ภาษาของชนกลุ่มน้อย ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ เนเธอร์แลนด์ต่างหาก

ภาษากลางของเนเธอร์แลนด์นี้เรียกว่า Algemeen Nederlands ใช้สอนกันในโรงเรียน และ ใช้ในสำนักงานของรัฐบาล การออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ เรียกอีกอย่างได้ว่า Standaardnederlands เมื่อเรามีภาษากลาง คนที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง และเมืองใหญ่ๆ ก็จะมีภาษาพูดที่ยังติดสำเนียงแบบท้องถิ่น ในเนเธอร์แลนด์ก็มีมากมายหลายถิ่น แยกกันไปตาม แคว้น provincie - โปรวินซี่ เฟลมมิชก็ได้ชื่อว่าเป็นสำเนียงดัชต์ที่ใช้พูดกันในเบลเยี่ยมตอนบน เป็นภาษาเดียวกันแต่เฟลมิชมีสำเนียงต่อนข้างนุ่มนวลกว่าดัชต์ในเนเธอร์แลนด์ หลายๆคนฟังแล้วออกความเห็นว่าเฟลมิชฟังดูอ่อนหวานกว่าดัชต์ หลายๆคนก็ให้ความเห็นว่าฟังแล้วคล้าย ภาษาเยอรมัน ไปเสีย

ในเนเธอร์แลนด์เองนั้นสามารถแบ่งสำเนียงออกได้ตามเขตที่อยู่อาศัยเป็น Low Saxon ครอบ คลุมเขต Groningen, Drenthe และ Overijssel อีกหนึ่งสำเนียงคือ Zuid-Gelders ใช้พูดกัน ทางตอนเหนือของแม่น้ำ Rhine สำเนียงอีกหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนก็คือ Limburg และ Brabantian (Noord-Brabant) สำเนียงของ Zeeland ส่วนใหญ่จะเป็น Zealandic เป็นสำเนียงที่อยู่ระหว่าง Flemish ตะวันตก และ Hollandic ส่วน Hollandic นี้ คือสำเนียงของคนในเมืองใหญ่ (Randstad ได้แก่อัมสเตอร์ดัม เดนฮาก รอตเตอร์ดัม และอูเทรค)

ในยุคปัจจุบันนี้ ดัชต์ยังมีสำเนียงใหม่ๆ อื่นๆเพิ่มมาจากการย้ายเข้ามาอาศัยของคนต่างชาติได้แก่ สำเนียงสุรินาม สำเนียงดัชต์-มารอคกาน และ ดัชต์-เตอร์กิช ซึ่งมักมีคำศัพท์แสลงภาษาอารบิค หรือตุรกีปนอยู่เป็นระยะๆ คนดัชต์มักจะมองเห็นการใช้ภาษาเช่นนี้ เป็นการแสดงออกของผู้ไม่มี การศึกษา ดังนั้นหากคุณเริ่มเรียนภาษาดัชต์ ไม่ควรใช้คำไทย หรือคำภาษาอื่นเข้าไปปะปนใน ประโยคดัชต์ จนติดเป็นนิสัยนะคะ

ในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันนั้น เราจะพบคำยืม leenwoord เลนโหวร์ด จากภาษาอื่น มาใช้ใน ภาษาดัชต์อยู่บ้าง โดยเฉพาะภาษาจากประเทศใกล้เคียง คือฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ นอกจากนั้น ก็ยังมี อินโดนีเซีย สุรินาม และ จีน โดยเฉพาะคำศัพท์ทางอาหารการกิน คำที่ยืมมาจากภาษา อื่นนั้นมัก จะยังใช้กฏการอ่านตามแบบ ภาษาเดิม ดังตัวอย่าง
jam แยม - ผลไม้กวน
champagne ชัมปานเย่อะ - แชมเปญ
souterrain ซุทเทอร์เรน - ห้องใต้ดินที่เปิดให้อากาศเข้าถึงได้
scooter สกู๊ตเตอร์ - จักรยานสองล้อที่ใช้เครื่องยนต์
pizza พิชซ่า - แป้งอบที่มีหน้ารสชาติต่างๆ อาหารอิตาเลี่ยน
nasi นาซี - ข้าวผัด
saté สะเต๊ะ - เนื้อเสียบไม้ย่าง
bami บามิ - บะหมี่ผัด
training เทรนนิ่ง - การซ้อม(กีฬา)
taugé เท่าเค่ - ถั่วงอก
clown เคลาวน์ - ตัวตลก

ถึงแม้ว่าดัชต์จะยืมคำจากภาษาอื่นมาเยอะ แต่คุณทราบหรือเปล่าคะว่าภาษาอังกฤษเองก็ยืมคำ จากภาษาดัชต์ไปไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการออกล่าอาณา นิคมของเนเธอร์แลนด์ คำใช้บ่อยที่ยืมมาจากดัชต์ก็ได้แก่
Santa Clause ซึ่งมาจาก Sint. Nicolaas (Sinterklaas)
cookie มาจาก koekje
waffel รับไปจากคำว่า wafel
boss ก็มาจากคำว่า baas
landscape จากคำว่า landschap
coleslaw สลัดกระหล่ำที่เราชอบกินตามฟ้าสฟู้ดนั้นก็มาจาก koolsla
อีกหนึ่งคำที่น่าสนใจ Yankees คำที่ใช้เรียกพวกอเมริกันนิวยอร์ค นั้นก็จริงๆแล้วมาจากชื่อ Jan-Kees (ชื่อหนึ่งของผู้ชายดัชต์)นั่นเอง


Top
| Home | Europe tour by Smiley | RianDutch | Facebook Double Dutch | Contact | | Privacy Statement
Copyright © 2003-2024 www.thai-dutch.net All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537