การอยู่ด้วยกัน และวีซ่า

  • เมื่อคนสองคนขึ้นไปมาอยู่ด้วยกัน

ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อน ว่าการอยู่ด้วยกันเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนกัน คนไม่รู้จักกันเลยแต่มาแชร์ห้องพักกัน คุ่รัก หรือครอบครัว ต่างเรียกว่า samenwonen ทั้งสิ้น การอยุ่ด้วยกันนี้ มีผลทางการภาษี ทำให้คุณสามารถหักลดภาษีกันได้ หากว่าผู้อยู่ร่วมหลังคาเรือนตกลงยินยอม ร่วมเซ็นต์ใบยื่นภาษีของกันและกัน คือเป็น Fiscal partner

  • การอยู่ด้วยกันแบบที่สองคือการอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ของคนสองคนที่มีใจปฏิพัทธ์ (ง่ายๆก็คือรักกันนั่นแหละ) มีแบ่งย่อยเป็นสองชนิดคือ
    • huwelijk การสมรส และ geregistreerd partner การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์

    • การทำสัญญาอยู่ร่วมกัน samenlevingscontract

ให้คุณแฟน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ิลิงค์นี้ เมื่อคุณขอวีซ่าระยะยาว mvv จากการรับรองของสปอนเซอร์ทางเนเธอร์แลนด์ คุณจำเป็นต้องมีที่อยู่ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน คู่หมั้น หรือเพื่อน หรือเจ้านายของคุณ หรือเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย อาจจะนำชื่อคุณไปแจ้งขึ้นทะเบียนบ้านไว้

กรณีที่คุณมีคู่หมั้น แฟน หรือคู่สมรส ในเนเธอร์แลนด์การย้ายชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน มิได้หมายความว่า คุณได้ทำการจดทะเบียนหรือสมรสอย่างถูกต้องตามกฏหมายเรียบร้อยกับคู่หมั้นของคุณ และมิได้หมายความว่าคุณมีสิทธิใดๆ ตามกฏหมาย ดังนั้นเช็คให้ดีว่าพ่อตัวดีของคุณ พร้อมจะตัดสินใจตกลงจดทะเบียนสมรสกันเมื่อใด เพื่อป้องกันสิทธิของคุณเอง โดยเฉพาะการมีบุตรด้วยกันต่อไปในอนาคตค่ะ

จดทะเบียนสมรส การแต่งงาน และการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ ในเนเธอร์แลนด์

    สำหรับการการอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้อง มีสิทธิตามกฏหมาย คุณสามารถจะใช้สามวิธีดังนี้
  • burgerlijk huwelijk การจดทะเบียนสมรส
  • geregistreerd partner การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์
  • samenleving contract การทำสัญญาอยู่ด้วยกัน

การจดทะเบียนสมรสนั้น จะทำในประเทศไทย เนเธอร์แลนด์ หรือในประเทศใดๆ ที่ยอมรับ ก็ได้ ดูรายละเอียดเป็นภาษาดัตช์ ได้ที่ Trouwen in het buitenlandจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย โดยตรงค่ะ)

  • หนังสือรับรองความเป็นโสด ของทั้งฝ่ายชาย และหญิง
  • สูติบัตร หรือเอกสารรับรองความมีตัวตน ของทั้งฝ่ายชายและหญิง
  • พาสปอร์ต หรือเอกสารประจำตัวทั้งฝ่ายชายและหญิง

หากว่าทั้งคู่จะสมรสกันในประเทศใด ก็ต้องดูว่าประเทศนั้นๆ ต้องการเอกสารอย่างไร การจะไปจดทะเบียนสมรสในประเทศที่สามนั้น ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องถือ resident permit หรือมีวีซ่าพำนักในประเทศนั้นๆก่อน เพราะกฏการแต่งงานในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ต้องมีการแปลเอกสารเป็นภาษาที่กำหนด ผ่านการรับรองจากสถานทูตประจำประเทศนั้น และการขออนุญาตจดทะเบียนอาจมีระยะเวลานาน ทำให้วีซ่าระยะสั้นไม่เพียงพอต่อการระยะเวลาที่ต้องรอการอนุมัติ

กฏและเงื่อนไขที่ต่างการในการสมรส การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ หรือการอยู่ด้วยกัน(เฉยๆ)

  • การสมรสหรือการอยู่ด้วยกันแบบใด ก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นการจับคู่แบบ 1-1 เท่านั้น การสมรสหลายคนในครั้งเดียว ไม่สามารถทำได้ นอกจากได้ทำการหย่าร้างกับคู่สมรสแรก หรือคู่พาร์ทเนอร์ได้เสียชีวิตไปก่อน
  • ผู้ที่จะอยู่ด้วยกัน สมรส หรือจดทะเบียนพาร์ทเนอร์กันต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่อยู่ในสายโลหิตเดียวกัน เป็นญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ที่ใกล้ชิด ไม่สามารถจะทำการสมรส หรืออยู่ด้วยกันประเภทใดๆได้ (การรับบุตรบุญธรรม และพี่น้องจากการรับบุตรบุญธรรมเป็นข้อยกเว้น)
  • เมื่อบุคคลหนึ่งในการสมรส จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ และการอยู่ด้วยกัน เป็นคนต่างด้าว (มิใช่ดัชต์) จะมีกฏย่อยต่อไปนี้ตามมาคือ

    • หากคุณทั้งคู่ มิได้มีสัญชาติเนเธอร์แลนด์ และไม่ได้มี Resident permit ทางการเนเธอร์แลนด์ไม่อนุญาตให้จดทะเบียนชนิดๆใด ที่มีผลทางกฏหมายในประเทศนี้
    • หนึ่งในคู่ของคุณ ต้องมี Resident permit ที่ถูกกฏหมายของเนเธอร์แลนด์ หรือเป็นประชากรของเนเธอร์แลนด์โดยกำเนิด

ขั้นตอนในการจดทะเบียนสมรส และ การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์

  • Aangifte คุณทั้งสองจะต้องทำยื่นเรื่องต่อ Gemeente เพื่อขอทำการจดทะเบียน ขั้นตอนนี้เรียกว่า Ondertrouw โดยไปที่ Gemeente ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีภูมิลำเนาอยู่
  • Wachttijd ใช้เวลารอผลการยืนยัน อย่างน้อยเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • Getuigen พยานบุคคลในการจดทะเบียน อย่างน้อย 2 คน มากที่สุด 4 คน โดยผู้ยื่นขอจดทะเบียนจะต้องยื่นสำเนาเอกสารประจำตัวพร้อมลายเซ็นต์และที่อยู่ของพยานทุกคนล่วงหน้า
  • Ja-woord การยืนยันการจดทะเบียนของทั้งสองคน ในพิธีทางการ (สำหรับคู่ที่จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ จะไม่มีพิธีนี้)
  • Akte เอกสารยืนยันการจดทะเบียน คู่จดทะเบียน พยาน และเจ้าหน้าที่ร่วมกันลงลายมือชื่อไว้ บนเอกสารเพื่อให้เอกสารถูกต้องสามารถใช้ได้ตามกฏหมาย
  • Kosten ค่าบริการ จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ Gemeente ในหลายๆที่ มีการให้บริการฟรีในวันและเวลาที่จำกัด ซึ่งคุณจะสอบถามได้ที่ Gemeente นั้นๆ การเปลี่ยนทะเบียนพาร์ทเนอร์ ให้เป็นทะเบียนสมรสคิดค่าบริการเพิ่มต่างหากด้วย
  • Kerkelijk huwelijk สำหรับคู่สมรส หลังจากการจดทะเบียนตามกฏหมายแล้ว สามารถทำพิธีสมรสในโบสถ์ได้ ทั้งนี้ไม่เป็นการบังคับ

สิทธิและหน้าที่ จากการจดทะเบียนสมรส และการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์

  • คู่สมรสหรือพาืร์ทเนอร์ สามารถใช้นามสกุลของอีกฝ่าย (ทั้งชายและหญิง) โดยใช้ร่วมกับนามสกุลเดิมของตัวเอง หรือโดยแทนที่นามสกุลเดิม หรือจะใช้นามสกุลเดิมของตนต่อไปก็ได้ ทั้งนี้เมื่อเกี่ยวข้องกับกฏหมาย ผุ้นั้นก็จะต้องแจ้งนามสกุลเดิมของตนเองเสมอ
  • การเกี่ยวดองทางครอบครัว หลังจากการสมรสหรือจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ ครอบครัวของทั้งคู่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของอีกฝ่าย จะมีผลในด้านการศาลในหลายๆกรณี
  • คู่สมรสและพาร์ทเนอร์ ต้องให้การยินยอมต่ออีกฝ่ายในการทำธุรกรรม และนิติกรรม
  • คู่สมรสและพาร์ทเนอร์ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขและความเป็นไปของอีกฝ่าย ในด้านการเงิน สุขภาพ กำลังใจและอื่นๆ สำหรับในด้านการเงิน ทั้งคู่สามารถทำสัญญานอกพิเศษขึ้นเพื่อตกลงสิทธิทางการเงินกันได้
  • คู่สมรสและพาร์ทเนอร์ มีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สิน และทรัพย์สินร่วมกัน หากใครไม่ต้องการเช่นนี้สามารถจะทำสัญญาพิเศษเพิ่มเติมเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินและหนี้สินกันได้
  • มรดกของคู่จดทะเบียนจะตกเป็นของอีกฝ่าย หากผู้นั้นได้เสียชีวิตไป
  • เงินบำนาญของคู่จดทะเบียนจะถูกจ่ายต่อไปให้ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ หากผู้นั้นได้เสียชีวิตไป

สิทธิจากการเป็นคู่สมรส ที่แตกต่างจากการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์

การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์นั้น เดิมใช้กันในหมู่คู่รักเพศเดียวกัน เนื่องจากศาสนาคริสต์ ไม่ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกัน กฏหมายและสิทธิของการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์จะมีส่วนต่างกับการสมรสก็คือส่วนของสิทธิการเลี้ยงดูบุตร และการเลิกร้าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • พิธีสมรสในโบสถ์ (ทางศาสนา) สามารถทำได้แต่การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์นั้นไม่ได้รับอนุญาต
  • การหย่าร้างโดยการสมรส ต้องกระทำโดยกฏหมาย เป็นลายลักษณ์อักษร แต่การเลิกร้างต่อกันของผู้่จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ทำได้โดยการบอกกล่าว
  • เงื่อนไขในเรื่องของเอกสารเหมือนกัน
  • สิทธิทางกฏหมายไม่มีอะไรต่างกัน
  • การมีลูก พ่อแม่มีสิทธิตามกฏหมายในการเป็นผู้ดูแลทั้งสองฝ่าย : พาร์ทเนอร์จะมีเพียงคนหนึ่งคนใดที่เป็นผุ้ปกครองของเด็กที่ขอมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทเนอร์เพศเดียวกัน หรือชายหญิง
  • ดังนั้นหากคุณคู่ผัวตัวเมีย ไม่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรส คุณจะต้องทำสัญญาในหัวข้อข้างล่างนี้ ไม่ใช่จดทะเบียนพาร์ทเนอร์นะคะ

Samenlevingscontract

การทำสัญญาใช้ชีวิตอยุ่ด้วยกันนี้ ใช้กันมากเมื่อมีการเิิิงินและธุรกิจมาเกี่ยวข้องในคู่ที่ไม่อยากใช้การจดทะเบียนสมรส หรือการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์มาเป็นหลักทางกฏหมาย การทำสัญญาชนิดนี้ สามารถทำได้โดยผ่าน notaris ออกมาเป็นสัญญาที่ถูกต้องตามกฏหมาย ปกติแล้วการทำสัญญาชนิดนี้จะมีผลให้คู่ที่อยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้สมรสหรือจดทะเบียนกันนั้น สามารถทำนิติกรรมร่วมกันทางกฏหมายได้เหมือนคู่สมรส (ในบางหัวข้อที่ได้ตกลงกันไว้) เช่น เมื่อทั้งคู่จะซื้อบ้านด้วยกัน หรือเมื่อฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ และจะคลอดบุตร การทำสัญญานี้มีค่าใช้จ่ายต่างกันไป ตามความละเอียดเจาะจงของสัญญา และค่าบริการของโนตาริสที่ต่างกัน ประเมินได้ตั้งแต่ไม่เกิน 500 ยูโรไปจนถึงเกือบ 2000 ยูโร ก็ยังเป็นไปได้ค่ะ

คู่สมรสหรือพาร์ทเนอร์ของคุณเคยจดทะเบียนสมรสหรือพาร์ทเนอร์มาก่อน

การจะจดทะเบียนครั้งใหม่ได้ ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมนอกจากเอกสาร starndaard ดังนี้

  • การหย่าร้าง scheiding ใช้เอกสาร een afschrift van de desbetreffende akte แล้วแต่ว่าเป็นการหย่าร้างชนิดใด เอกสารนี่ขอได้จาก Gemeente ที่ได้ทำการหย่าร้างไว้ (ปกติก็จะเป็นสถานที่เดียวกับที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ด้วย)
  • การเป็นหม้าย เนื่องจากการเสียชีวิตของคู่สมรสและพาร์ทเนอร์ een afschrift van de overlijdensakte van de overleden echtgeno(o)t(e)/partner ขอได้จาก Gemeente ที่คู่สมรสหรือพาร์ทเนอร์เก่าที่เสียชีวิต ได้ถูกลงทะเบียนไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเกิด)

ข้อมูลอ้างอิง : หากคุณต้องการรายละเอียดในเรื่องรุปแบบการอยู่ด้วยกัน และสิทธิหน้าที่ทางกฏหมาย อ่านโบรชัวร์เพิ่มเติม (ภาษาดัชต์) ได้ ที่นี่ ค่ะ

วันนี้ลองเช็คดูนะคะ ว่าคุณเป็นอะไรกับหวานใจแล้วหรือยัง ถ้ายัง รีบไปจดทะเบียน หรือทำสัญญากันไว้ให้เรียบร้อย ทั้งนี้เผื่ื่อสิทธิของตัวคุณเองในอนาคตค่ะ


Top
© 2003-2021 Thai-Dutch.net All Rights Reserved
| Home | Europe Tour by Smiley | RianDutch | Facebook-Double Dutch | Copyright | Privacy statement