เรื่องของแม่และเด็ก

พอจะพูดถึงเรื่องแม่และเด็ก เรามาดูกันก่อน ข้อมูลสำหรับคนที่มีลูกกับสามีเก่า และไม่อยากทิ้งลูกไว้ไกลหูไกลตา หากจะพาลูกมาด้วย ก็จะต้องไปเตรียมเอกสารการขอวีซ่าให้ลูก (ดูในหัวข้อวีซ่า mvv นะคะ) สำหรับเด็กที่อายุยังไม่ถึงวัย ทำพาสปอร์ตเองได้ คุณแม่จะต้องพาไปทำพาสปอร์ตไทยให้เรียบร้อยเสียก่อน การขอหนังสือเดินทาง สำหรับผู้เยาว์ ดูที่เวบ http://www.e-abroad.com/tip_7.htm ค่ะ

บทความดีๆ มีลูกทำไม.....?!?

"พ่อแม่เป็นผู้ตัดสินใจให้ลูกเกิด ลูกเองเลือกไม่ได้ว่าต้องการจะเกิดหรือไม่"

ท่านมีลูกเพื่ออะไร?
การมีลูกของคนเราจะมีจุดประสงค์หรือความต้องการบางอย่างจากการมีลูกเสมอ
ยกเว้นคนที่มีลูกโดยอุบัติเหตุ เช่น จากการมีเพศสัมพันธ์ของคู่ที่ยังไม่ได้แต่งงานกันแล้วไม่ได้ป้องกันการมีท้องไว้ล่วงหน้า พ่อแม่ที่รู้ตัวเองว่าเอาละถึงเวลาแล้วที่เราจะมีลูกด้วยกัน อันนี้จะสามารถบริหารหรือจัดการกับชีวิตได้ดีกว่าพ่อแม่ที่ไม่รู้ตัวว่ามีลูกไปทำไม

พ่อแม่อาจมีลูกด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้มาก เช่น

1. มีลูกเพื่อไว้ดูแลพ่อแม่ยามเจ็บป่วยแก่เฒ่า
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ถูกกล่าวอ้างเสมอ ถ้าเป็นเพียงข้อนี้ไม่จำเป็นต้องมีลูกก็ได้ เพียงแต่หาเงินทองเก็บไว้ หรือ เอาเงินส่วนที่จะเลี้ยงลูกเก็บไว้ดูแลตัวเอง เพราะ ไม่แน่เสมอไปที่ลูกจะเลี้ยงเราได้จริง ไม่เช่นนั้นคงไม่เห็นคนแก่อยู่ในบ้านพักสถานสงเคราะห์คนชราจำนวนมาก กลายเป็น "พ่อแม่กำพร้าลูก"

2. มีลูกเพื่อเป็นโซ่ทองคล้องใจพ่อแม่
คือพ่อแม่คาดหวังว่าลูกต้องเป็นตัวเชื่อมยึดให้พ่อแม่อยู่ไปด้วยกันได้เพื่อลูก
ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะลูกไม่สามารถทำหน้าที่ได้สำเร็จถ้าพ่อแม่มีปัญหาต่อกัน ไม่รักกัน เกลียดกัน ขัดแย้งหรือทะเลาะกัน ตีกัน หรือ พยายามทำร้ายกัน นอกจากนี้กลับเปลี่ยนเป็นทำให้ลูกมีปัญหาไปด้วย แล้วจะกลายเป็นอยู่ด้วยกันเพียงเพราะ "ทนเพื่อลูก"

3. เหตุผลอื่นที่พ่อแม่ต้องการมีลูก เช่น ปู่ย่า ตายาย ต้องการอุ้มหลาน, มีเพื่อพิสูจน์ความเป็นหญิงชายของพ่อแม่, มีเพื่อจะได้รับมรดกส่วนแบ่งมากขึ้น, มีไว้ใช้งาน ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ฯ

4. อยากมีเพราะไม่มี อันนี้จะพบในกลุ่มคนที่ไม่มีหรือมีการศึกษาน้อย หรือ ฐานะยากจน ขาดความรู้ ด้อยโอกาสในเกือบทุก ๆ ทาง ซึ่งหากถามคนกลุ่มนี้ว่ามีลูกทำไมอาจจะได้คำตอบว่าไม่รู้ เพราะเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่รู้วิธีป้องกันคุมกำเนิด หรือ รู้แต่ไม่คุม

เหตุผลทั้งหมด จะเห็นว่าทุกอย่างมาจากพ่อแม่ทั้งนั้น คือมองในความคิดความต้องการของพ่อแม่เป็นหลัก ไม่ได้มองในแง่มุมของลูก ลูกไม่มีโอกาสเลือกพ่อแม่ คือ ลูกเลือกเกิดไม่ได้ เด็กไม่มีโอกาสเลือกว่าอยากมาเกิดดูโลกนี้หรือไม่ พ่อแม่จะตัดสินใจว่าให้อยู่หรือไม่มากกว่า ฉะนั้นน่าเห็นใจเด็กทีเกิดมาตามความต้องการของผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่จึงควรทำอะไร ๆ เพื่อเด็กให้มากในเรื่องที่ถูกต้อง และ สมควรทำ ชีวิตของเด็กจึงจะได้เป็นชีวิตที่มีคุณภาพ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

-------------------------------------------------------------------------------

เรื่องราวดี ๆ จากหนังสือ "เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข"
โดย ศาสตราจารย์แพทย์จริง นงพงา ลิ้มสุวรรณ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ดูแลตัวคุณแม่ ตั้งแต่รู้ว่าตั้งท้อง

สัญชาติญาณความเป็นแม่จะเริ่มขึ้น เมื่อคุณแม่สงสัยว่าตัวเองประจำเดือนเริ่มขาดหายไป อันดับแรกเลยก่อนจะไปหาหมอประจำตัว คุณแม่ไปจัดการซื้อที่ตรวจการตั้งครรภ์ Zwangerschaptest ได้ตามร้านขายยา หรือร้านประเภท Kruidavat วิธีการส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน คือตรวจจากปัสสาวะ

เมื่อรู้แน่ว่าท้อง (ในบางอุปกรณ์การตรวจ สามารถระบุระยะเวลาได้ด้วย หากเราไม่แน่ใจ) แล้วคุณแม่จะต้องไปหาคุณหมอประจำบ้าน เพื่อปรึกษา และคุณหมอจะให้ที่อยู่และเบอร์ติดต่อของผดุงครรถ์มาให้

หลังจากนี้ คุณแม่ก็ติดต่อกับคุณหมอผดุงครรภ์ไปตลอดนะคะ เดี๋ยวนี้มีคลินิกพิเศษสำหรับบริการถ่ายรูป 3d สำหรับคนอยากเห้นหน้าลูกก่อนคลอด พอใกล้ๆคลอดผดุงครรภ์ก็จะให้รายการซื้อของที่จะเป็นกับเรา เพื่อไปเตรียมตัว และที่สำคัญ เราจะมีสิทธิเลือกว่าอยากจะคลอดที่ไหน บ้านหรือว่าโรงพยาบาลใด

ช่วงนี้คุณแม่ก็จะต้องไปอบรมการเลี้ยงเด็กซะก่อน ในช่วงที่ท้องยังไม่ใหญ่อุ้ยอ้ายเกินไป คุณแม่จะเรียนคอร์สฝึกหายใจ แล้วพ่นลมออกทางปากเป็นจังหวะ บรรเทาตอนปวดท้องคลอด ถ้าปวดถี่มากๆ ก็พ่นลมออกทางปากเร็วๆ ตอนคลอดให้มีแรงเบ่ง อ้อ ที่ฮอลแลนด์เนี่ย เขาไม่ผ่าทำคลอดให้คุณแม่ง่ายๆ นะคะ (การผ่าคลอดเนี่ยเขาเรียก Keizerian) แล้วก็จะสอนวิธีอาบน้ำให้เจ้าตัวเล็ก

ถ้าคลอดที่บ้าน ก็ต้องเตรียม kraampakket อุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างคลอดและหลังคลอด หากท้องโต แล้วมีอาการปวดหัว อย่าเฉยนะคะ อาจเป็นอาการของความดันผิดปกติ อาการของครรภ์เป็นพิษที่ฮอร์โมนแปรปรวน จนเป็นอันตรายกะร่างกายแม่ จะทำให้ลูกในท้องผิดปกติ มีอันตราย ก็จะต้องผ่าลูกออกจากคุณแม่ก่อนกำหนดคลอดเท่านั้นค่ะ การสังเกตตัวเองในช่วงตั้งครรภ์สำคัญมาก เพราะช่วงนี้แม่จะไม่ควรรับยาใดๆ ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยจึงสำคัญมาก ระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงต่างๆ แพทย์จะนัดเพื่อตรวจเลือด และอาจจะมีการตรวจน้ำคร่ำด้วยในรายที่แม่มีวัยสูงมาก เพื่อป้องกันเด็กผิดปกติ

หลังคลอด คุณแม่และคุณลูกจะอยู่โรงพยาบาล จนกระทั่งคุณหมอตรวจแล้วว่าแข็งแรง กลับบ้านได้ บางคนนอนยังไม่ถึงสามชั่วโมงเลย (แล้วแต่นะคะ ว่าแข็งแรงกันแค่ไหน ไม่มีใครอยากให้ลูกนอนตู้อบนานๆ จริงไม๊คะ) เมื่อคุณแม่ออกมาอยุ่ที่บ้านนั้น นอกจากคุณพ่อและครอบครัวแล้ว ทางประกันจะจัดส่งพยาบาลจาก Kraamzorg มาคอยช่วยเหลือคุณแม่ในช่วงแรกๆ ระยะเวลาที่ครามซอร์กจะอยู่กับคุณแม่กี่วัน กี่ชั่วโมง ก็แล้วแต่ประกันและข้อตกลงก ที่ฮอลแลนด์เป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบ kraamzorgen คือมีการส่งพยาบาลมาดูแลหลังคลอดที่บ้าน มาสอนการเลี้ยงลูก การให้นมลูก การอาบน้ำให้ลูก วิธีการอุ้มลูก สำหรับพ่อแม่มือใหม่ แล้วยังช่วยทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ตอนรับแขกให้ ดูแลการพักผ่อนของเรา และมีทำกับข้าวให้ด้วย (แต่ถ้าอยากกินอาหารไทย คงต้องหาพยาบาลคนไทยนะคะ) ?

อ้าว ใครเป็นพยาบาล Kraamzorg บ้างมาบอกกันหน่อยนะคะ

ปัญหาของลูกเมื่อต้องพูด 2 ภาษาขึ้นไป

อันนี้ นอกจากคุณแม่จะมีปัญหาแล้ว เมื่อต้องมาเรียนภาษาใหม่ๆ เพิ่มอีกภาษาหนึ่ง คุณลูกก็มีปัญหาเดียวกัน แต่เพราะเด็กเป็นวัยที่เรียนรู้ได้เร็ว และไม่มีความอาย (ในการพูดผิด) อีกทั้งการมีโอกาสที่จะได้เล่น พูดคุยกับเด็กดัตช์คนอื่นๆ ลูกจะเรียนภาษาดัตช์ได้เร็วอย่างที่คุณไม่คาดคิด แต่สำหรับภาษาของแม่ (และบางครั้งของคุณพ่อ ซึ่งไม่ใช่คนดัตช์) นั้นก็กลายมาเป็นปัญหาต่อมา เพราะหลายๆ คนจะเห็นว่า ลูกจะเริ่มพูดภาษาของพ่อแม่ น้อยลง

แม้ว่าคนดัตช์จะพยายามเอาข้อดีมาชี้ให้เห็นว่าเด็กควรจะหัดพูดดัตช์ก่อน แต่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคน ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ให้พูดได้มากกว่าสองภาษา จะบอกเหมือนกัน คือ ให้เราพยายามพูดไทยกับลูก เพราะภาษาดัตช์ของคุณนั้น ไม่ใช่ภาษาดัตช์ที่เก่งมาแต่กำเนิด การเป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ให้กับลูกซึ่งเป็นเหมือนผ้าขาว จะทำให้ลูกติดภาษาที่ผิดๆ ของเราไป ในขณะที่ลูกกลับไม่ได้ใช้ภาษาไทยของคุณเลย ดังนั้น ตั้งแต่เล็ก คุณพ่อหรือคุณแม่เจ้าของภาษาไทย จะต้องพยายามใช้ภาษาไทยกับลูกให้เป็นธรรมชาติ การเรียนรู้ 2 ภาษาของเด็ก
หากว่าพ่อและแม่พูดภาษาต่างกัน ทั้งสองคนต้องพูดกับลูกด้วยภาษาของตัวเองเท่านั้น อย่าปนกันให้มั่ว ถ้าลูกโตขึ้นแล้วอยากให้ได้ภาษามากกว่าสองภาษาเร็วๆ ก็ทำได้โดยการจ้างโอแปร์ต่างชาติมาช่วยเลี้ยงลูก หรือส่งไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์เนชั่นนอล ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ วิธีนี้ลูกก็จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างรวดเร็ว

หากพ่อแม่เป็นไทยทั้งคู่ แต่มาอยู่ที่เนเธอร์แลนด์นี่ล่ะ คุณก็พูดภาษาไทยกับลูกเช่นเดิม ปล่อยให้ลูกเรียนภาษาดัตช์จากเพื่อนบ้าน หรือที่โรงเรียนอนุบาล หากพ่อหรือแม่อยู่ในเนเธอร์แลนด์นานหลายสิบปี ก็จะใช้ภาษาดัตช์กับลูกด้วยก็ได้ แต่เอาให้แน่ใจว่า ลูกไม่ติดสำเนียงผิดๆ เพี้ยนของพ่อแม่ไป

ในกรณีที่เด็กกลายเป็นคนเงียบ และไม่ยอมพูด คุณแม่หลายๆท่านได้ให้ประสบการณ์ไว้ว่า เด็กสองภาษาในช่วงแรกๆ จะสับสน ในช่วงที่เงียบ เขากำลังทำความเข้าใจ และสร้างระบบกับการใช้ภาษาของเขา ไม่ต้องตกใจหากลูกไม่ค่อยพูดค่อยจา ให้พูดกับลูกตามปกติ เมื่อเขาเกิดความพร้อม ก็จะเริ่มพูดเอง ทีนี้ลูกก็จะพูดภาษาได้หลายภาษา เวลากลับไปเมืองไทยหาปู่ย่า ตายาย ก็จะยังเข้าใจภาษาเดิมได้เป็นอย่างดี แม้ว่าการเขียนและอ่าน อาจจะไม่คล่องเท่าเด็กไทย ในเมืองไทย

พาลูกไปฉีดยา

หากคุณคลอดลูกในเนเธอร์แลนด์ ทางคุณหมอจะให้สมุดสุขภาพกับคุณแม่เพื่อบันทึกการเจริญเติบโตของเด็กๆ และนัดหมายเวลาพาลูกไปตรวจสุขภาพและรับการฉีดวัคซีนค่ะ

  • 1 เดือน - HepB ตับอักเสบ B ครั้งที่ 2
  • 2 เดือน - DKTP1 คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 1
  • 4 เดือน - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 2
  • 6 เดือน - DKTP-Hib-HepB คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 3 และ ตับอักเสบ B ครั้งที่ 3
  • 9 เดือน ถึง 1 ขวบ - BMR1 หัดคางทูม หัดเยอรมัน
  • 1-1.5 ขวบ - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 4
  • 2-2.5 ขวบ - JE1 + JE2 ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 1
  • 4-6 ขวบ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ครั้งที่ 5 + BCG ปลูกฝี
  • 12-16 ปี dT คอตีบบาดทะยัก + MMR2 หัดคางทูม หัดเยอรมัน2

ทิป ต่างๆ เพื่อการเลี้ยงดูลูกในแต่ละวัย

Learn to Love @Sanook.com

การช่วยเหลือเรื่องของลูกจากหน่วยงานของรัฐ

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์สนับสนุนให้ประชากรมีบุตร ด้วยการสนับสนุนเงินอุดหนุน ในสองส่วนด้วยกันค่ะ คือ

Kinderverbondtoeslag
ส่วนนี้เป็นเงินช่วยเหลือให้กับทุกคนที่มีบุตร อายุยังไม่ถึง 18 ปีค่ะ โดยมีรายละเอียดเช็คได้ด้วยตนเอง ดังนี้ เงินส่วนนี้ไม่ใช่ Kinderbijslag แต่เป็นเงินเพิ่มเข้ามาอีก โดยเงินยอดนี้จะขึ้นอยู่กับ จำนวนลูกที่เรามี รายได้ของคู่สมรสและเราเอง รวมถึง vermogen ทรัพย์สินอื่นๆและเงินเก็บของเราที่ไม่เกิน € 118.479 สำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือ € 149.819 สำหรับพ่อหรือแม่ที่มี toeslag partner ด้วย

และ Kinderopvangtoeslag
เงินส่วนนี้เป็นเงินที่ให้สำหรับคนที่นำลูกไปฝาก opvang เนื่องจากพ่อและมีมีภาระในการทำงาน หรือเรียน ทำให้ไม่สามารถดูแลลูกได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าในระดับอายุใดก็ตาม โดยมีเงื่อนไข
ดังนี้ โดยผู้ที่ทำงาน ก็ไม่จำเป็นต้องทำงาน full time และคนที่ติดภาระเรียน จะขอเงินลดหย่อนได้ หากคุณเข้าเรียนในสถานศึกษาที่ได้รับการรับรอง erkend หรือแม้แต่เราคนต่างชาติที่เพิ่งมาอยู่ และมีภาระหน้าที่ในการเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน inburgeringsexamen ก็สามารถใช้เงินลดหย่อนเพื่อที่รับเลี้ยงเด็กของบุตรนี้ค่ะ โดยที่สถานรับเลี้ยง ก็จะต้องขึ้นทะเบียนอยู่กับ Landelijk Register Kinderopvang (LRK) โดยเราผู้เป็นพ่อแม่ ก็จะต้องเสียเงินเองในส่วนที่รัฐไม่ได้จ่ายให้ทั้งหมด

เมื่อลูกเข้าโรงเรียน

ข้อมุลนี้ ทุกคนจะได้เรียน เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของวิชา KNM ลูกจะเริ่มออกจากอกคุณไปอยู่ในความดูแลของคนอื่นเมื่ออายุประมาณสองขวบครึ่ง คุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มจองคิว Peuter speelzaal โรงเลี้ยงเด็กไว้ได้แล้วค่ะ การจองที่เล่นของลูกนี้ ก็ทำผ่านทาง Consultatie Bureau ได้เลย โดยที่ปรึกษานี้ เราจะได้ติดตัวลูกมา เมื่อเราไปคลอดค่ะ เพราะส่วนมากที่ใกล้บ้านจะเต็มเร็ว ถ้าไม่รีบจองไว้จะต้องพาลูกไปส่งไกล การพาลูกไปส่ง Speelzaal นี้ ก็บอกอยู่แล้วว่าพาไปเล่นกะคนอื่นๆ ไม่ได้เป็นการบังคับ แต่ควรกระทำ ลูกจะได้ไปเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมกับเด็กอื่น ก่อนวัยเรียน โดยที่ส่วนมากจะให้เด็กๆไปเล่น สองวันต่ออาทิตย์ แต่ว่าถ้าเราเห็นว่าพัฒนาการของลูกช้ามาก ก้ไปคุยกับหมอ ว่าเราอยากขอให้เขาไปเล่นกับเพื่อนๆ มากวันหน่อย ลูกจะไปเที่ยวเล่นที่สเปลซาลนี้ได้จนกระทั่งถึง 4 ขวบ แล้วหนูน้อยก็จะต้องเริ่มไปโรงเรียนจริงๆ เสียที ในช่วงที่ลูกไปโรงเรียนนี้ ถ้าแม่ๆ บริหารเวลาให้ดี ก็จะสามารถแบ่งเวลาไปทำงานเพิ่มได้ค่ะ

Naschool opvang ฝากลูกหลังโรงเรียนเลิก ก่อนรับกลับบ้าน

ขอบคุณข้อมูลทางภาษีจากคุณพิงค๊กี้ สไตน์ ค่ะ

การเอาลูกไปฝากหลังเลิกเรียน ถ้าคุณมีลูก แล้วคุณต้องทำงาน ไม่สะดวกไปรับลูกทันทีที่โรงเรียนเลิก ไปฝากไว้ได้ค่ะ เด็กๆ จะมีเพื่อนเล่น มีกิจกรรมให้ทำ โดยส่วนมาก จะมีเด็กตั้งแต่ สี่ขวบ ถึงสิบสอง กลุ่มเด็กเล็ก กับเด็กโต กลุ่มหนึ่งไม่ใหญ่เกินไป มีอาหารให้ ตอนหกโมง ส่วนวันพุธ (ที่โรงเรียนเลิกครึ่งวัน ทั่วประเทศ) ก็มีอาหารตอนเที่ยงให้ด้วย หากพ่อแม่ไปรับลูกเลทเกินไป หลายๆที่จะปรับค่ะ การเอาลูกไปฝากนี้ไม่ฟรีนะคะ มี ค่าใช้จ่ายต่อรายชั่วโมง ซึ่งขึ้นกับเงินเดือนของผู้ปกครอง เสียตามรายได้ต่อปีของพ่อแม่รวมกัน รายได้มาก เสียมาก

เมื่อพ่อแม่มีค่าใช้จ่าย รัฐบาลก็เข้ามาช่วยเหลือ ขอสมมุติว่าหากต้องจ่าย 300 ยูโร ก็จะทำเรื่องหักภาษีได้ 100 ยูโร 33.33% นอกจากนี้กฏหมายยังบังคับให้ทางบริษัทที่ทำงาน(ประจำ)ของพ่อแม่ จะต้องช่วยจ่ายค่า opvang ด้วย ถ้าทำงานทั้งคู่รายได้พอๆกัน จากตัวอย่างนี้ ทางบริษัทก็จะต้องช่วยส่วนของพ่อ 50 ยูโร ของแม่อีก 50 ยูโร สุดท้ายพ่อแม่จึงจ่ายจริงเพียงแค่ 100 ยูโรที่เหลือค่ะ จะขอค่า opvang คืนแบบเป็นรายเดือน หรือต่อปีก็แล้วแต่ว่าเรายื่นเรื่องกับ belasting แบบไหน ถ้าขอแบบรายปี ก็จะต้องออกเองไปก่อน แล้วไปรับคืนปีถัดไป ไม่ต้องเอาบิลไปเบิกที่ทำงาน ทางสรรพากร จะส่งบิลไปหักกะทางบริษัทที่เราทำงานเองโดยอัตโนมัติค่ะ เพราะงั้นคุณพ่อคุณแม่ ไปทำงานกันได้อย่างสบายใจขึ้นนะคะ

หาคนเลี้ยงลูก และหางานเลี้ยงลูก(ให้คนอื่น) Oppas Zoeken


Top
© 2003-2021 Thai-Dutch.net All Rights Reserved
| Home | Europe Tour by Smiley | RianDutch | Facebook-Double Dutch | Copyright | Privacy statement