บัตรประจำตัวผู้อยู่อาศัย verblijfstitel / verblijfsvergunning

บัตรนี้ก็คือใบอนุญาตอาศัยของคนต่างด้าว ที่ในอเมริกานิยมเรียกว่า ใบเขียว / Resident permit บัตรนี้จะเป็นพลาสติกแข็ง โดยทั่วไปมักจะมีสีออกชมพู ลี่ขอใช้ลิงค์ภาพจาก IND โดยตรงมาอธิบายให้พวกเราคนไทยได้อ่านรายละเอียดบนบัตรของตัวเองกันนะคะ

บัตร verblijfsdocument ของแต่ละคนอาจจะมีหน้าตาเหมือนกัน แต่รายละเอียดไม่เหมือนกัน มีอะไรบ้างที่คุณควรจะรู้ไว้ บัตรปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่นของปี 2020 ของใครที่ทำก่อนนั้นอาจจะเป็นเวอร์ชั่นเก่าที่เปลี่ยนครั้งสุดท้าย ในปี 2012 นะคะ

บัตรนี้จะบอกว่าคุณสามารถทำงานได้ โดยถูกกฏหมาย ถ้ามีคำว่า Arbeid vrij toegestaan

และบอกสถานภาพในเนเธอร์แลนด์ของคุณ verblijf bij echtgeno(o)t(e) ตามด้วยชื่อสามี หากว่าคุณจดทะเบียนสมรส หรือ verblijf bij geregistreerde partner ตามด้วยชื่อ หรือ verblijf bij partner ตามด้วยชื่อ หากคุณยังมิได้ทำสัญญาใดๆผูกพันทางกฏหมาย

วันที่บัตรหมดอายุ geldig tot :

ชนิดของบัตร :

  • แบบที่ I: Regulier bepaalde tijd ไม่เกิน 5 ปี
  • แบบที่ II: Regulier onbepaalde tijd อายุบัตร 5 ปี
  • แบบที่ III: Asiel bepaalde tijd อายุบัตร 5 ปี
  • แบบที่ IV: Asiel onbepaalde tijd อายุบัตร 5 ปี
  • แบบ EU/EER: gemeenschapsonderdaan อายุบัตร 5 ปี

คนไทยส่วนใหญ่จะมีชนิด I หรือ II หรือ ดัชต์พาสปอร์ต

ช่วงเวลาในการพักอาศัย : หากว่าคุณอยู่ในเนเธอร์แลนด์ครบ 5 ปี และไม่ประสงค์จะขอพาสปอร์ตดัชต์ คุณก็สามารถขอบัตรชนิด Regulier Onbepaade Tijd เพื่อใช้เข้าออกประเทศเนเธอร์แลนด์ได้

หมายเลขประจำตัวประชาชนดัชต์ : NLDxxxxxxxx เลขรหัสแปดตัว

Photo and information owned by IND ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของบัตรชนิดต่างๆ ได้ที่ เวบอย่างเป็นทางการนะคะ

 


มาศึกษารายละเอียดของด้านหลังบัตรกันค่ะ

บรรทัดแรก คือวันเดือนปีเกิดของเรา ตามด้วยจังหวัดที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเมืองไทย และชื่อประเทศ T(hailand) แต่ไม่ต้องแปลกใจนะคะ ที่ลี่อยู่ในจังหวัด Muang เพราะมันเป็นเช่นนี้ด้วยเหตุผลบางประการ

บรรทัดต่อมา คือสัญชาติของเรา แน่นอน เป็น Thaise

ตัวต่อมาคือ V สำหรับเพศหญิง หรือ M สำหรับเพศชาย

ถัดมาเป็นสิ่งที่สำคัญแล้วว่า ใครคือผู้ค้ำประกันเรา สำหรับคนที่มาอยู่กะแฟน ก็จะมีคำดังนี้ verblijf bij partner (geregistreerde partner, echtgenoot หรืออื่นใด) และคำที่สำคัญที่สุดที่จะบอกว่าเราได้รับอนุญาตให้ทำงานได้หรือไม่ คือคำที่บอกว่า Arbeid vrijtoegestaan และ twv niet vereist (คำหลังนี้ twv ย่อมาจาก tewerkvergunning หรือใบอนุญาตทำงาน) ถ้าคุณมีทั้งสองส่วนนี้ก็สามารถจะไปหางานทำได้เลย ไม่ต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงานแต่อย่างใด และเริ่มทำงานได้ ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงฮอลแลนด์ และนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านค่ะ

verblijfsdocument verlengen ต่ออายุบัตร

เมื่อคุณมาอยู่ในเนเธอร์แลนด์ครบ 5 ปี ก็ถึงวาระที่บัตรประชาชน หรือบัตร verblijfsvergunning ของคุณจะหมดอายุลงไป บางครั้งรอบัตรนาน พอได้มาไม่ถึงกี่เดือน ก็ใกล้จะหมดอายุเสียอีกแล้ว การต่ออายุทำได้้ล่วงหน้าไม่จำกัดเวลาเลยค่ะ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อโดยตรงได้ทีนี่ค่ะ

Immigratie- en Naturalisatiedienst

บัตรใบแรกที่คุณได้รับ มีอายุห้าปี

การขอพาสปอร์ตไทยใหม่ หรือต่ออายุ ใช้เวลารอประมาณ หนึ่งถึงสองเดือนค่ะเผื่อเวลาไว้ด้วยนะคะ นำบัตรประชาชนไทย หรือสำเนาบัตรประชาชนไทยไป พร้อมด้วยพาสปอร์ตเล่มเก่า ปัจจุบันมีให้เลือกทำพาสปอร์ตไทยได้สองแบบ ทั้งแบบ 5 ปี(เก่า) ราคา 35 ยูโร หรือแบบ 10 ปี ราคา 50 ยูโร (+ค่าส่งพาสปอร์ตไปยังที่อยู่ในฮอลแลนด์ 7ยูโรนิดๆ กรุณาถามราคา update จากสถานทูตอีกครั้ง) และต้องไปด้วยตัวเองที่สถานทูตไทย ที่อยู่ในลิงค์ทางซ้ายมือค่ะ รายละเอียด ดังนี้

เมื่อคุณออกจากบ้านไปไหนในเนเธอร์แลนด์ คุณจะต้องมีบัตร verblijfsdocument ติดตัวไว้เสมอ การไม่พกบัตรจะถูกปรับเป็นเงิน 90 ยูโร

ในระหว่างที่คุณกำลังรอต่อบัตร และยังไม่ได้รับบัตรใหม่ ในขณะที่บัตรเก่าหมดอายุไปแล้ว คุณสามารถติดต่อที่ IND เพื่อขอสติกเกอร์ติดในพาสปอร์ตไทยของคุณชั่วคราวเพื่อใช้แทนบัตร verblijfsvergunning ได้ค่ะ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ฟรีแล้ว

หน้าตาประมาณอย่างนี้ล่ะค่ะ สติกเกอร์ที่คุณจะได้รับ ต้องพกพาสปอร์ตไว้ แทนการพกบัตรที่หมดอายุนะคะ บัตรก็จะต้องนำไปคืนแลกกับบัตรที่รับมาใหม่ ไปรับที่ Gemeente ค่ะ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าบัตรของตัวเองจะหมดอายุเมื่อไหร่ คุณจะต้องรีบจัดการ เพราะในทุกวันนี้ มีกฏของ Wet inburgering กำหนดให้เราต้องทำการสอบภาษาให้ผ่านในเวลาสามปี ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับ ซึ่งดูรายละเอียดได้ในส่วนของ Inburgering ค่ะ

ดาวโหลดแบบฟอร์มต่อบัตร : คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลด pdf file

ราคาบัตร bepaalde tijd แบบ I

ราคาบัตร onbepaalde tijd แบบ II

ราคาค่าต่อบัตร ทุกชนิด :

ราคาค่าทำบัตรใหม่ เนื่องจากชำรุด หรือสูญหาย : แล้วแต่สถานภาพทางครอบครัว

ข้อมูลเพิ่มเติม : สำหรับราคาอัพเดทล่าสุดของบัตรชนิดต่างๆ ค่าทำบัตรใหม่เมื่อหาย หรืออื่นๆ คลิกดูที่นี่ค่ะ


Top
© 2003-2021 Thai-Dutch.net All Rights Reserved
| Home | Europe Tour by Smiley | RianDutch | Facebook-Double Dutch | Copyright | Privacy statement